ยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต (ภงด. 90/91) ด้วยตัวเอง

03 May 2019

สมัคร ขั้นตอนการยื่นภาษีผ่านเน็ต ภ.ง.ด. 91

 

สวัสดีครับในวีดีโอตอนนี้นะครับ เราจะมาเรียนรู้เรื่องของการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด. 90/91 นะครับ โดยเป็นการที่เรายื่นด้วยตัวเองนะครับ แล้วก็ยื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ตนะครับ บางท่านอาจจะเคยยื่นเองแล้ววีดีโอตอนนี้ก็อาจจะง่ายไปแล้ว อาจจะข้ามไปได้เลยนะครับหรือจะดูทบทวนก็ได้นะครับ แต่ท่านใดที่ยังไม่เคยยื่นหรือยื่นแล้วก็ยังงงๆ ยื่นมาปีละครั้งก็ลืมไปแล้วนะครับว่าทำยังไงบ้างนะครับ น้องๆที่เพิ่งจบใหม่ถ้าที่เดิมทีเนี่ยบริษัทยื่นให้มาตลอดอยากจะยื่นเองแล้วนะครับก็ลองดูกันครับ ตอนนี้เราจะเรียนด้วยกันไปทีละสเต็ปนะครับ ว่ามันยื่นได้ยังไงนะครับไปติดตามกันเลยครับ

ขั้นตอนแรกนะครับของการยื่นแบบภาษีเงินได้ ภงด. 90/91 ผ่านทางอินเตอร์เน็ตสิ่งที่เราต้องทำอันดับแรกก็คือการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องครับซึ่งหลายท่านก็จะมีวิธีเตรียมต่างกันซึ่งผมก็เชื่อว่าส่วนใหญ่จะยุ่งมากเวลาที่หาเอกสาร เพราะว่าไม่รู้ว่าอะไรมันไปติดอยู่ตรงไหนบ้างโดยเฉพาะท่านมีรายได้หลายทางนะครับ มีค่าลดหย่อนเยอะแยะไปหมดเลยนะครับ ซึ่งวิธีการที่ผมใช้ง่ายๆก็คือว่าผมก็เตรียมซองนะครับ หรือเตรียมกล่องไว้สักกล่องนึงนะครับหรือซองนึงเนี่ยเตรียมไว้เลยสำหรับปีนี้อะไรก็ตามที่มันเกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้ค่าลดหย่อนอะไรต่างๆเราจะยัดใส่ไว้ในถุงนี้ในกล่องนี้นะครับ ก็อันนี้เป็นตัวอย่างนึงเป็นเทคนิคง่ายๆที่เอาไปใช้กันได้พอถึงเวลาเราก็เอาเอกสารต่างๆออกมาใช้ได้เลยนะครับ ซึ่งเอกสารสำหรับการเตรียมยื่นภาษีสำหรับผมนะครับผมแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆนะครับ

กลุ่ม1พวกเงินได้

กลุ่มแรกก็จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพวกเงินได้นะครับ เราก็เวลาเราได้เงินจะเป็นเงินเดือนก็ตามจะเป็นค่าจ้างก็ตามนะครับ ส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีเอกสารรับรองเงินได้นะครับ เราเรียกกันสั้นๆว่าทวิ 50 นะครับ ทวิ 50 จะมีอะไรทวิ 50 ก็จะบอกว่าใครเป็นนายจ้างเราเรียกว่าภาษากฎหมายเราเรียกว่า ผู้จ่ายเงินได้ผู้จ่ายเงินได้จ่ายให้เรากี่บาทนะครับ เขาก็จะมีเขียนว่าแล้วเขาหักภาษีไว้กี่บาทนะครับทวิ 50 ก็คือหลักฐานว่ามีการจ่ายเงินได้ออกมาและมีการหักภาษีไว้ให้เท่าไหร่นะครับ ซึ่งกระบวนการหักภาษีนี้แหละที่พอหักไปแล้วเนี่ยมันเป็นเหมือนต้นขั้วไปปรากฏที่กรมสรรพากร เพราะบริษัทที่เราพอไปทำงานด้วยเนี่ยเขายื่นภาษีของบริษัทนะครับ เขาก็จะมียื่นเข้าไปด้วยว่าได้จัดเงินได้ให้ใครบ้างเป็นเงินกี่บาทและหักส่งไว้กี่บาทนะครับ สรรพากรก็จะมีข้อมูลของเราและว่า อ๋อ..เราเป็นผู้รับเงินได้จากบริษัทนี้ ถ้าเกิดเราไม่ยื่นภาษีปีนี้ก็เรื่องใหญ่ครับ เพราะว่าเขาก็จะเห็นว่าต้นขั้วอยู่นี่ทำไมไม่มีบุคคลธรรมดามายื่นภาษีล่ะนะครับ เนี่ยครับคือทวิ 50 ทำไมมันต้องมี ก็เพื่อที่ว่าสรรพากรก็จะได้รู้ว่าใครยังไม่ยื่นภาษีนะครับ

ขณะเดียวกันมันก็เป็นหลักฐานจึงให้เราใช้ยื่นได้ด้วยไม่ได้ตกหล่นไปนะครับก็ทำตามกฎหมาย เอกสารก็มีหลายแบบครับเป็นแบบใบอย่างนี้นะครับ Private and confidential เป็นความลับนะครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น format ของบริษัทนะครับ สิ้นปีเราไม่ต้องใช้สลิปเงินเดือนนะครับ เดี๋ยวบริษัทจะทำสรุปให้อีกใบนึงนะครับว่าทั้งที่จ่ายเงินได้เราเท่าไหร่นะครับแล้วทวิ 50 ของบริษัทมีความพิเศษอย่างหนึ่งก็คือมันจะรวมพวกสวัสดิการต่างๆที่เขาหักไป เช่น ประกันสังคม ของบริษัทมีความพิเศษอย่างหนึ่งก็คือมันจะรวมพวกสวัสดิการต่างๆที่เขาหักไป เช่น ประกันสังคมเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนะครับ ก็จะอยู่ในใบเดียวกัน ซึ่งจะไม่เหมือนกับใบอื่นๆ ใบอื่นๆเช่นใบอันไหน อย่างผมทำงานอิสระนะครับผมมีงานวิทยากรที่เราพูดให้อิสระอย่างก็จะมีเงินได้เกิดขึ้นนะครับ เวลาบริษัทไหนที่ตั้งผมไปพูดเขาก็จะทำใบนี้ครับทวิ 50 เหมือนกันแต่ว่าหน้าตาก็จะไม่เหมือนของบริษัทแหละเป็น A4 แผ่นเดียวแบบนี้มีสำเนาให้เราชุดนึงนะครับ ก็จะบอกว่าเงินได้เท่าไหร่นะครับ แล้วก็ได้หักนำส่งไว้เท่าไหร่เช่นกันนะครับ แล้วก็จริงๆในใบพวกนี้มันจะบอกเลยคำว่าเงินได้เนี่ยเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 วงเล็บเท่าไหร่นะครับ ซึ่งสำหรับบุคคลธรรมดาก็มีตั้งแต่ (1) ถึง (8) นะครับ ถ้าใครเป็นเงินเดือนก็จะเป็น (1) ใครเป็นพวกค่าจ้างค่าวิทยากรค่าเหมาอะไรต่างๆก็จะเป็น (2) วงเล็บอื่นๆก็ต้องศึกษาเพิ่มต่อไปนะครับ ซับซ้อนเหมือนกันคงไม่อยู่ในขอบเขตของวีดีโอตอนนี้นะครับ

กรณีพิเศษก็เช่นว่าปีนั้นปีนั้นนะครับ เรามีกันขายพวกเรา LTF RMF คือวันครบกำหนดแล้ว หรือเราจงใจขายแบบผิดเงื่อนไขก็ตามยังถือมันไม่คบขายก่อนเนี่ยยังไงเสีย บลจ.เนี่ย ก็จะทำออกเอกสารรับรองตัวนึงให้เรานะครับว่ายอดที่ขายออกมาเป็นกี่บาทเราก็ต้องเอายอดนี้นะครับมาเพื่อยื่นภาษีด้วยนะครับ อันนี้คือเอกสารกลุ่มแรกครับกลุ่มพวกเงินได้เราเรียกสั้นๆว่าทวิ 50 นะครับ

กลุ่มที่2ค่าลดหย่อนต่างๆ

เอกสารกลุ่มที่ 2 นะครับ ก็จะเป็นเอกสารกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพวกค่าลดหย่อนต่างๆ ซึ่งก็มีหลากหลายครับบางท่านถ้าไม่วางแผนภาษีหรือว่าไม่รู้จักเครื่องมือที่ใช้ลดหย่อนภาษีเนี่ยก็แทบไม่มีเลยนะครับ แต่ว่าหลักๆแล้วที่คนส่วนใหญ่มีกันนะครับก็คือนะครับหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนะครับ ถ้าใครผ่อนบ้านครับก็จะมีดอกเบี้ยเงินกู้ของค่างวดบ้านที่เราผ่อนเนี่ยเราไม่ใช่เอาค่างวดทั้งหมดมากรอกนะครับ เราจะกรอกเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยนะครับ ซึ่งถามว่าจะดูยอดแบบ Exact คือยอดที่ถูกต้องเนี่ยทางแบงค์ที่เราเป็นลูกหนี้เขาอยู่ก็จะส่งหนังสือตัวนี้มาให้เราที่บ้าน ถ้าไม่ได้นะครับก็ไปขอที่แบงค์นะครับเขาจะบอกตลอดปีที่ผ่านมา เราได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ผ่อนบ้านมีกี่บาทนะครับ สำหรับท่านอื่นก็อาจจะมีอย่างเช่นพวกหนังสือรับรอง LTF RMF นะครับ อย่างนี้ผมมีของ UOB 91 เขาก็จะบอกว่าเราซื้อ LTF เท่าไหร่นะครับมีของบัวหลวง มีของ TMB อย่างนี้เป็นต้นครับ เราก็เอาทั่วไปครับมาเตรียมไว้ครับเพราะเดี๋ยวตอนกรอกมันจะมีช่องให้เรากรอกเป็นยอดรวมนะครับว่าเราซื้อรวมแล้วเนี่ยเท่าไหร่เขาจะนับทุกกองรวมกันนะครับ แต่ต้องมีทุกใบไว้เนี่ยถามว่าทำไมเราต้องเตรียมเอกสารก่อนนะครับ เพราะว่าเราก็เมียเราจะได้มีเอกสารไว้อ้างอิงนะครับ นอกจากพวก LTF/ RMF แล้วเนี่ยบางท่านที่ซื้อประกันชีวิตนะครับก็จะมีพวกเบี้ยประกันชีวิตที่สามารถเอามาลดหย่อนได้ เขาจะต้องมีเอกสารให้เหมือนกันปกติแล้วก็จะได้ทันทีเวลาที่เราจ่ายเบี้ยนะครับ เขาจะส่งให้เรามาที่บ้าน หรือว่าถ้าไม่ได้ก็สามารถขอได้จากตัวแทนประกันที่เราซื้อหรือว่าโทรไปสอบถาม Call Center นะครับหลายแห่งก็มีให้โหลดทางอินเตอร์เน็ตเช่นกันนะครับ

 

กลุ่มที่3 ค่าลดหย่อน ข้อกฎหมายต่างๆ

ต่อมาเป็นเอกสารกลุ่มที่ 3 นะครับซึ่งความจริงก็คล้ายๆกับค่าลดหย่อนและเช่นกันแหละครับเพียงแต่ว่าในระบบของกรมสรรพากรที่ใช้กรอกรวมถึงข้อกฎหมายต่างๆเขาแยกตรงนี้ไว้ต่างหาก กลุ่มพวกคือพวกเงินบริจาคนะครับ เงินบริจาคไม่ว่าเป็นบริจาคทั่วไปหรือบริจาคเพื่อการศึกษาซึ่งจะลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคนะครับ ก็จะมีช่องให้กรอกแยกต่างหากนะครับหลังจากที่กรอกค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆครบหมดแล้วก็จะได้กรอกพวกเงินบริจาค ถามว่ามีหลักฐานไหมมีนะครับหลายๆท่านอาจจะไม่เคยรู้ว่าเราทำบุญที่วัดอย่างนี้ใบอนุโมทนาบัตรนะครับก็วัดก็ออกให้ได้นะครับ มีพวกอย่างทำกับศูนย์ปฏิบัติธรรมอย่างนี้ผมทำกับยุวพุทธ ยุวพุทธพิกัดสมาคมก็ออกให้ได้นะครับ ว่าเราทำไปกี่บาทนะครับ หรือใครที่ทำกับพวกองค์กรการกุศลที่มีหลักมีเกณฑ์อย่าง ยูนิเซฟ อะไรพวกนี้นะครับศุภนิมิต มูลนิธิบ้านเด็กโสสะ แล้วก็มีอีกหลายที่ครับรวมถึงพวกองค์กรการกุศลต่างๆที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องแล้วก็ลดหย่อนภาษีได้เขาก็จะออกใบอย่างนี้ให้กรอกได้นะครับ เราก็ต้อง

ยื่น ภาษี ภ งด 91 ทาง เน็ต

ระบบการยื่นภาษีผ่านเน็ต

ในการยื่นภาษีผ่านระบบนะครับ เราก็ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของสรรพากรก่อนนะครับ ที่ www.rd.go.th นะครับเข้ามาถึงเนี่ย ก็ให้ดูเมนูที่เขียนว่า E- filing ตรงนี้นะครับ filing ก็คือการยื่น E- filing ก็คือการยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์นะครับ เราก็มาที่คลิกที่ลิงค์ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตครับ คลิกเข้าไปเนี่ยก็จะมีรายละเอียดต่างๆให้เราอ่านนะครับแต่ในที่นี้เนี่ย เราก็สามารถไปที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เลยนะครับ ก็คลิกเข้าไปนะครับนี่จะเป็นเมนูหลักครับ ถ้าเรายื่นด้วยตัวเองดีๆเราก็ใช้เมนูโซนนี้ นะครับ ภงด. 90/91 ยื่นผ่านระบบเดียวกันนะครับ ถ้ายังถ้าใครยังไม่เคยยื่นทางอินเตอร์เน็ตเลยสักครั้งเดี๋ยวนี้ก็ต้องลงทะเบียนก่อนครั้งแรกนะครับคลิกที่ลงทะเบียน เขาก็จะให้เราเลือกว่าเราเป็นคนประเภทไหนนะครับ ก็เลือกเป็นบุคคลธรรมดากรอกข้อมูลต่างๆให้ครบถ้วนนะครับ ก็จะมีจุดที่ให้ตั้ง User ID และ Password นะครับ ก็ขอให้ตั้งอย่างระมัดระวังนะครับ แล้วก็จดและจำไว้ด้วยเพราะว่าเราจะใช้ User ID และ Password เนื้อในการยื่นภาษีตลอดไปเลยนะครับก็ในที่นี้ผมมี account แล้วก็ขออนุญาตกลับไปที่เมนูหลักนะครับ การที่จะเข้ายื่นแบบ เราจะกดเข้าที่เมนูยื่นแบบดีนะครับ กดเข้าไปนะครับก็จะให้คีย์แบบนี้ผู้ใช้งานซึ่งในที่นี้ก็จะเป็นเลขที่บัตรประชาชนของผมครับแล้วก็รหัสผ่าน กรณีท่านใดลืมก็สามารถคลิกได้นะครับมีวิธีแก้ไขไม่ใช่ลืมแล้วลืมเลยนะครับก็กดตกลงเข้าไปนะครับ ในที่นี้เนี่ยผมเคยยื่นมาแล้วนะครับระบบสรรพากรก็จะมีข้อมูลของผมแล้ว จริงๆก็ส่วนหนึ่งก็ดึงมาจากตัวฐานข้อมูลของทะเบียนบ้านบัตรประชาชนต่างๆนะครับ ก็มีชื่อที่อยู่กรณีที่เราอยากจะเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะเรื่องของที่อยู่เนี่ย ยังที่อยู่ของผมเรียบปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นที่อยู่ตามทะเบียนบ้านนะครับก็สามารถเปลี่ยนได้นะครับ กรณีที่เราดูทุกอย่างโอเคเรียบร้อยแล้วเราก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการยื่นแล้วนะครับก็ให้กดที่คำว่าทำรายการต่อไป ระบบจะขึ้นมาเตือนเลยนะครับว่าให้ตรวจสอบชื่อที่อยู่ให้ถูกต้องก่อนนะครับ เพราะว่าถ้ายื่นไปแล้วจะไม่สามารถกลับมาหน้านี้ได้อีกแล้วนะครับในที่นี้ถูกต้องแล้วก็กด ok เข้าไปได้เลยนะครับ

ในการยื่นแบบเนี่ยจริงๆก็จะมีขั้นตอนหลักๆอยู่ประมาณ 6 ขั้นตอนนะครับ ก็คือในหน้าหลักเนี่ย ก็จะเป็นหน้าตาเหมือนทวนข้อมูลนิดนึง แล้วก็ให้เราเลือกสถานภาพของเรานะครับ กรณีที่เรามีสถานประกอบการอื่นๆคือเราใช้ชื่อบุคคลธรรมดาในการทำธุรกิจก็กรอกได้นะครับ ซึ่งโดยทั่วไปเนี่ยก็จะไม่มีนะครับเราก็ไม่ได้ใส่อะไรกรณีมีคู่สมรสจะยื่นรวมกันก็ทำได้เช่นกัน ในที่นี้ผมขอสาธิตให้ดูกรณีที่เราเป็นผู้มีรายได้ทั่วไปแยกยื่นกันนะครับก็ ก็มาเลือกสถานภาพผู้มีเงินได้ตรงนี้ครับในที่นี้ ผมขอยกตัวอย่างเลือกเป็นโสดแล้วครับ ก็เลือกโสดกรณีสมรสก็เลือกสมรสไปนะครับ สังเกตพอเลือกสมรสเนี่ยโซนทางขวาจะมีเขาเรียกว่าจะอนุญาตให้เราคีย์ข้อมูลลงไปแล้วนะครับ กรณีนี้ถ้าเป็นโสดก็จะอยู่ฝั่งนี้นะครับก็ลองได้ครับไม่ยากอะไรนะครับ ใครโสดใครสมรสก็กรอกไปตามจริงนะครับ ในที่นี้เนี่ยกรณีเป็นการยื่นครั้งแรกๆมันก็จะเป็นการยื่นปกติเลือกไม่ได้นะครับกรณียื่นไปแล้วเราต้องการจะยืมเพิ่มเนี่ยเราสามารถคลิกตรงยื่นเพิ่มได้นะครับแต่ทีนี้มันเลือกไม่ได้ก็เนี่ยครับขั้นแรกๆไม่ได้มีอะไรครับ มีหน้านี้เราก็กดในการทำต่อไปได้เลยนะครับ หน้าที่ 2 จะเป็นหน้าที่เริ่มงงแล้วครับเพราะว่าเขาจะให้เราเลือกครับว่าเรามีรายได้พึงประเมินอะไรบ้างนะครับ ซึ่งเงินรายได้พึงประเมินสำหรับบุคคลธรรมดาเนี่ยมันมีทั้งหมด 8 มาตราด้วยกันก็คือ 40 (1) ถึง (8) นะครับแล้วก็จะมีพวกมันได้พิเศษเช่นจากกันขายอสังหา ขายกองทุน RMF/ LTF นะครับ เงินกรณีที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานเช่นเราลาออกหรือว่าเราเกษียณอายุอย่างนี้เป็นต้นนะครับ ก็เราต้องติ๊กเลือกนะครับว่าเรามีเงินได้อะไรบ้าง แล้วก็มาเลือกเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น หรือพวกค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น เรามีการสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไหมถ้ามีก็ติ๊กได้นะครับ มีค่าๆลดหย่อนบุตรไหม มีค่าอุปการะพ่อแม่ไหมอย่างนี้นะครับ ซึ่งตรงนี้ผมจะไม่ได้ลงรายละเอียดว่าแต่ละอันคืออะไรนะครับ วัตถุประสงค์ของวีดีโอนี้คือ สมมุติท่านที่พอจะรู้อยู่แล้วว่าเรามีค่าลดหย่อนมีอะไรนะครับเงื่อนไขเป็นยังไงเพราะถ้าอธิบายในวีดีโอนี้ต้องยาวมากๆแน่นะครับ ก็ปัญหาก็อยู่ที่เงินได้แล้วครับว่าเราจะรู้ได้ไงว่าเงินได้เราจะอยู่วงเล็บไหน ปกติแล้วถ้าเกิดเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานกินเงินเดือนเนี่ยก็จะเป็นมาตรา 40 (1) นะครับ คำอธิบายพวกนี้บางทีก็ไม่พอจะต้องศึกษาเพิ่ม อาจจะกดที่เครื่องหมายนี้ก็ได้ก็จะมีคำอธิบายโผล่ขึ้นมานะครับ หรือถ้าจะดูง่ายกว่านั้นนะครับ ให้เราไปดูที่ใบที่เราเรียกว่าทวิ 50 ซึ่งได้ได้พูดไปแล้วว่าขั้นตอนเตรียมหลักฐานเนี่ยผมให้ดูทวิ 50 นะครับ อันนี้เป็นตัวอย่างนะครับทวิ 50 ได้มาใบนี้จะเป็นใบที่ผมได้จากตอนที่ทำงานกินเงินเดือนนะครับ ก็จะในใบนี้จะบอกเลยว่าเงินได้ที่จ่ายเป็นตรงนี้คือเลขเงินเซ็นเซอร์นิดนึงนะครับ ว่ามันบอกเลยว่าเป็นเงินก้อนนี้เป็นเงินได้มาตรา 40 (1) สังเกตไหมครับมันจะอยู่บรรทัด 40 (1) ถ้าเป็นเงินได้มาตราอื่นมันก็จะโชว์อย่างอื่นนะครับ ผมให้ดูอีกใบนึงนะครับ อย่างใบนี้เป็นอีกใบนึงมัน ก็คือลองสังเกตดูนะครับอันนี้ก็ทวิ 50 เหมือนกันนะครับ เพียงแต่ว่าหน้าตามันถ่ายเอกสารมันอาจจะต่างกันบ้างนะครับ อย่างนี้ก็จะบอกเลยว่าผมมีเงินได้เป็น 40 (2) นะครับ เป็นค่าธรรมเนียมค่านายหน้าตามมาตรา 40 (2) ถึงบรรทัดนี้ตรง (1) ไม่มีแล้ว อย่างนี้ดังนั้นถ้ามีใบหลักฐานทวิ 50 เรามีเงินได้มาตราไหนเราจะรู้เลยครับว่ามันอยู่มาตราไหน เพื่อที่ว่าเราจะเอาไปทำอะไรครับ เราจะเอาไปติ๊กในช่องนี้เราจะรู้ลองยื่นกันมีมาตรา 40 (1) นะครับ เอาแบบง่ายๆเนาะ คนทั่วไปก็มี 40 (1) นะครับไม่ได้มีเงินรายได้อื่นอีกก็ไม่ต้องติ๊กอะไรก็ได้นะครับ ส่วนค่าลดหย่อนก็ลองดูครับใครมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ติ๊กครับนะครับ อันนี้ผมสมมุติว่ามีตีว่าผมมีซื้อเบี้ยประกันชีวิตนะครับก็ติ๊กไป มีเงินประกันสังคมก็ติ๊กไปนะครับมีซื้อกองทุน LTF RMF ก็ติ๊กไปนะครับ มีดอกเบี้ยเงินกู้บ้านนะครับ มีเงินบริจาคนะครับประมาณนี้นะครับ ของใครมีเท่าไหร่ก็ลองเลือกกันไปนะครับ ก็อย่างที่บอกถ้ายื่นครั้งแรกจะงงๆหน่อย ก็อย่ากลัวมากแล้วกันนะครับค่อยๆทำไปเอกสารถ้าเรารวมมาดีมันก็จะไกด์เราได้ส่วนหนึ่งนะครับ ผมคลิกที่ทำรายการต่อไปก็จะเข้าขั้นที่ 3 นะครับ

ในขั้นนี้ถ้าเป็นการบันทึกเงินได้เราติ๊กเงินได้มาตราไหนไปบ้างนะครับ ก็จะมีช่องให้กรอกแค่มาตรานั้นอย่างเมื่อกี้ผมติดแค่มาตรา 40 (1) ก็จะมีช่องเดียวนะครับ ผมก็ก็กรอกตามเลขที่ในมันระบุใบทวิ 50 ครับอันนี้ผมสมมุติว่าผมกรอกเลขติต่างขึ้นมาแล้วกันนะครับ เงินเดือนค่าจ้างบำนาญปกติก็รวมโบนัสต่างๆด้วยนะครับ ก็สมมุติว่าใส่ไปเป็นล้านบาทแล้วกันครับ 1 ล้านบาท พอใส่เสร็จเนี่ยเขาก็จะมีให้บอกครับว่ามีให้เรากรอกเพิ่มคำว่า 1 ล้านเนี่ยถูกหักภาษีไปแล้วกี่บาทนะครับ ให้เราดูใบทวิ 50 อีกครั้งหนึ่งนะครับเงินที่จ่ายเนี่ยยอด 1 ล้าน จะโชว์อยู่ตรงนี้นะครับ ส่วนภาษีที่หักและนำส่งไว้จะโทรอยู่ข้างๆกันนะครับเราก็เอาตัวเลขนี้นะครับไปกรอกในช่องนี้สมมุติว่ามีการหักเอาไว้แล้วทุกเดือนนะครับ อย่างเช่นมีการหักเดือนละ 5000 เนี่ยตัวเลขติต่างนะครับ อันนี้ทั้งปีก็ 60,000 บาทนะครับ 60,000 บาทนะครับ มีเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไหมนะครับ

ก็เช่นเคยครับจริงๆถ้าเป็นทวิ 50 เวอร์ชั่นที่ออกโดยผู้ว่าจ้างที่เป็นบริษัทใหญ่ เขาจะมีบอกด้วยนะครับว่าเงินสะสมจะเข้าเงินสำรองเลี้ยงชีพกี่บาทก็เอามาคีย์นะครับ ในที่นี้ผมสมมุติว่ากรอกไปซักเป็นเลขติต่างนะครับเลชจริงก็คือขอให้ใช้ตามจริงนะครับ ว่าถูกหักไปประมาณซัก 30,000 บาทนะครับทั้งปีนะครับระบบจะบอกว่าเดี๋ยว หมื่นบาทจะโชว์อีกช่องนึง 20,000 บาทส่วนเกินจะไปโชว์อีกช่องนึงนะครับ อันนี้เราไม่เป็นไรนะครับไม่เข้าใจไม่ไม่เป็นไร มันเป็นเรื่องของกฎหมายภาษีที่ออกมาต่างครั้งกัน ทำให้อดีตเนี่ยมันได้แค่หมื่นบาทนะครับส่วนที่เกินมันก็จะไปโผล่อีกช่องนึงนะครับ ระบบมันจะจัดการให้เราไม่ต้องยุ่งอะไรกรอกไปเต็มๆนะครับ ตรงส่วนนี้นะครับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้เนี่ย ตรงนี้ก็จะเป็นส่วนที่เข้าใจยากเหมือนกันว่ามันเอาเลขอะไรมากรอกนะครับ ก็คือตรงนี้จะเป็นตัวเลขที่เราต้องกรอกลงไปว่านายจ้างของเราครับมีเลขผู้เสียภาษีเลขไหน เพื่อที่สรรพากรจะเอาข้อมูลที่ไปยื่นครับไปตรวจทานกับสิ่งที่นายจ้างยื่น ว่ายื่นตรงกันหรือเปล่านะครับนี่เป็นเหตุผลนึงว่าทำไมเวลาเรายื่นผิดหรือยื่นไม่ตรงเขาถึงรู้นะครับก็คือมีระบบการสอบถามตรงนี้นะครับ เราจะหาเลขนี้มาจากไหนล่ะก็หลักๆนะครับก็ไปดูที่ใบทวิ 50 นะครับ ใบทวิ 50 ก็จะมีเลขที่นะครับเป็นเลขที่ เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ผู้เสียภาษีอากรอยู่ ก็เลขที่ใช้เนี่ยมันก็จะมีหลายเวอร์ชั่นนะครับ บางเวอร์ชั่นก็มี 10 ตัว 13 ตัว ณ ปัจจุบันอย่างเลขที่สรรพากรรับนะครับก็คือเลข 13 หลัก ซึ่งพอดีใบที่ผมสแกนมาเนี่ยมันยังไม่ใช่ 13 หลักผมขออนุญาตใช้ที่ 13 หลักแล้วก็คือเลขนี้นะครับ 0 9 9 4 0 0 0 6 2 8 5 7 9 ในความเป็นจริงแล้วเราหาไม่เจอครับ เช่นในเอกสารไม่มีเราต้องสอบถามผู้ว่าจ้างก็คือบริษัทเราครับว่าเลขประจําตัว 13 หลักขอบริษัทคืออะไรนะครับ ในที่นี้เนื่องจากเป็นเหตุการณ์สมมตินะผมขออนุญาตเอาเลขนี้ไปยื่นแล้วครับก็คีย์มานะครับ 0 9 9 4 0 0 0 6 2 8 5 7 9 นะครับ เหมือนเก่งนะครับจำได้ความจริงผมไว้ข้างนอกนะครับ อย่างนี้หน้านี้ก็เสร็จแล้วครับก็มีเงินได้นะครับ ก็คือมีเงินได้มีเงินได้ที่บริษัทที่หักไว้แล้วเป็นรายเดือนเงินมีเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีเลขประจำตัวของนายจ้างเรานะครับ มันจะดำเนินการหักค่าใช้จ่ายอะไรให้เองอัตโนมัติ เนื่องจากว่ามนุษย์เงินเดือนหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 60,000 บาท อยู่แล้วก็เป็นเลขนี้นะครับก็ทำรายการต่อไปครับ

มีค่าลดหย่อนอะไรไหมกรณีเบี้ยประกันชีวิตเนี่ยก็จะลดหย่อนได้สมมุติว่าเราจ่ายเบี้ยประกันอยู่ปีนึง 30,000 บาทก็ขอไป 30,000 บาทจริงๆมันจะมีค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาทเนี่ยมันก็จะขึ้นให้อัตโนมัติอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเรายื่นรวมกับภรรยาหรือสามีด้วยเนี่ย กรณียื่นรวมกันเขาก็จะใส่ให้ 60,000 ก็คือคนละ 30,000 แต่ว่า ณ ปัจจุบันเนี่ย แยกยืนค่อนข้างได้เปรียบกว่า ผมก็แนะนำว่าเบื้องต้นก็ลองแยกยื่นดูก่อนก็ได้นะครับ มีเบี้ยแบบบำนาญไหม สมมุติว่าไม่มีก็ไม่มีครับ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสังเกตไหมครับไอ้ 20,000 ที่อยู่ตรงนั้นเนี่ยหมื่นนึงมันมาโผล่ตรงนี้นะครับ เราคีย์ไป 30,000 นะครับ ใช่ไหมครับมันจะถูกแยกออกเป็น 2 ก้อนนะครับ

ก็มีซื้อ LTF/ RMF ไหม สมมุติถ้ามีซื้อมีซื้อไป ซื้อ RMF ไป 50,000 นะครับซื้อ LTF ไป 50,000 ก็กรอกตามจริงนะครับย้ำว่ากรอกตามจริง เพราะว่ากรณีที่มีการยื่นค่าลดหย่อนเราจะถูกเรียกเอกสารเพื่อตรวจทานนะครับ ถ้าเอกสารที่เราส่งให้สรรพากรมันไม่ตรงกับเลขก็เดี๋ยวจะต้องมาแก้ไขกันอีกนะครับ และอีกทางนึงทาง บลจ. ที่เราซื้อกองทุนเนี่ยจะต้องมีการส่งตัวเลขนี้ให้สรรพากรด้วย ดังนั้นเรายื่นไม่ตรงเขาก็จะรู้อยู่แล้วว่าเอ๊ะ..เลขมันไม่ตรงกันนะครับ มีดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อเช่าเพื่อซื้อบ้านใหม่นะครับ สมมุติว่ามีก็ยื่นไปนะครับปกติถ้าใครกู้บ้านเยอะหน่อยดอกเบี้ยก็ยื่นเต็มได้แสนนึงนะครับ แต่ตรงนี้ก็ขอให้ยื่นตามจริงเช่นกันหลักๆหลักฐานตรงนี้ก็ให้ไปขอที่ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้เรานะครับ ปกติโดยทั่วไปเขาควรจะส่งหลักฐานมาให้ที่บ้านเราเดือนมกราคมไม่เกินกุมภาพันธ์นะครับ ถ้าไม่ได้ก็ไปขอเอานะครับ เงินประกันสังคมโดยทั่วไปก็อันนี้ครับสูงสุด 9,000 ก็คือเดือนละ 750 ไม่มีใครส่งได้เกินนี้นะครับ ในที่นี้สมมุติว่าครบหมดแล้วก็ไปขั้นตอนต่อไปครับ

หน้านี้ก็จะเป็นหน้าคำนวณภาษีขั้นสุดท้ายแล้วเขาก็จะสรุปข้อมูลทุกอย่างที่เราใช้แต่เงินเดือนเท่าไรหักอะไรเท่าไหร่ก็เป็นไปตามที่ที่เรายื่นไปในขั้นตอนที่ 2 3 4 ที่ผ่านมานะครับยกเว้นในส่วนของการบริจาค เนี่ย ก็จะแยกออกมาต่างหากอีกช่วงหนึ่ง ซึ่งถ้าเราจะมีเอกสารไว้แล้วก็ยื่นตามนั้นไว้เลยเอกสารก็อย่างที่ผมยกตัวอย่างไปเช่น ใบอนุโมทนาบัตรของทำบุญให้วัดต่างๆแบบถูกต้องก็จะต้องมีอย่างนี้นะครับ เป็นเงินกี่บาทมีตราประทับของวัด มีลายเซ็นของเจ้าอาวาส แล้วก็ผู้ที่มีอำนาจนะครับ หรือเป็นพวกบริจาคให้มูลนิธิต่างๆก็จะต้องมีเงินว่ากี่บาทนะครับ บริจาคภายในปีนั้นอย่างนี้เป็นต้นนะครับ เราก็กรอกลงไปนะครับที่ต้องแยกก็เพราะว่าเงินบริจาคเนี่ยมันจะได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของข้อ 9 นะครับ ก็สมมุติว่าในที่นี้ผมบริจาคทั้งปีสมมุติ 50,000 แล้วกันนะครับ ก็โชว์ตรงนี้ เขาจะบอกว่าหักภาษีคำนวณเงินได้คำนวณตามเขาเรียกว่าตาม อัตราภาษีของบุคคลธรรมดาเนี่ย ซึ่งเป็นอัตราก้าวหน้าก็คือ ยิ่งเดือนสูงยิ่งฐานภาษีก็ยิ่งคำนวณออกมาก็ยังเสียภาษีอยู่ 41,000 บาทนะครับ แต่ว่า 41,000 บาทเนี่ย มีการหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 60,000 บาทก็คือบริษัทได้ทำการหักเรารายเดือนมาแล้ว 60,000 บาท นะครับเรามีภาระจึงแค่ 40,000 หักไปแล้ว 60,000 ดังนั้นเราจึงชำระไว้เกิน 18,850 บาทนะครับ 18,850 เนี่ยเราก็จะได้คืนนะครับ เพราะเราชำระเกินไว้นะครับ โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ก็มักจะถูกหักเกินเพราะว่าเรามีการใช้สิทธิ์ลดหย่อน LTF/ RMF ประกันอย่างนี้นะครับก็เราจะได้เช็คคืนนะครับก็ในที่นี้เนี่ยเขาก็จะมีขั้นตอนให้เราเลือกครับว่าเราอยากจะบริจาคภาษีให้กับพรรคการเมืองไหมนะครับผมถ้าผมจำไม่ผิดถ้าบริจาคเต็มที่ก็คือได้ 100 บาทครับภาษีส่วนหนึ่งจะไปบำรุงพรรคการเมืองที่เราจะประสงค์บริจาคถ้าใครประสงค์ก็ติ๊กประสงค์นะครับ 100 บาทก็กด ok ก็เลือกพักได้ครับจะบริจาคให้พรรคอะไรนะครับมีพรรคแปลกๆเยอะลองดูชื่อได้นะครับ พรรคปฏิรูปไทย พรรคคนไทย พรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย ชื่อเก๋มากนะครับ แต่ในที่นี้สมมุติเราไม่ประสงค์ก็ติ๊กไม่ประสงค์ได้เงิน 100 บาทของเราก็จะเข้าไปเป็นของรัฐทั้ง 100 บาทก็จะเข้าไปเป็นของรัฐตรงนี้เป็นจุดไฮไลท์ครับ อย่าลืมถ้าใครมีภาษีเกินอย่าลืมติ๊กว่ามีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษีด้วยนะครับ พอติ๊กเสร็จเนี่ยเขาจะให้เราใส่เบอร์มือถือด้วยครับว่าเรามือถือเบอร์อะไรเพื่อที่ว่าเวลาที่มีความก้าวหน้าในเรื่องของการเสียภาษีเนี่ย ไม่ว่าจะเป็นการขอเอกสารเพิ่มหรือการยื่นสรรพากรส่งเช็คมาให้เราแล้วเนี่ยจะมี Message เสร็จส่งมาทางโทรศัพท์ให้เรารู้นะครับ ก็กรอกไปในที่นี้ผมขอคลิกยกเลิกนะครับ เพราะว่าเป็นแบบฟอร์มภาษีจึงของผมนะครับ ถ้าผมกดยืนยันมันจะยืดมั่วๆแบบนี้เข้าไปแล้วเดี๋ยวผมจะมีเรื่องเอาภายหลังนะครับดังนั้นขั้นที่ 6 ผมไม่สามารถพาทุกท่านไปดูได้นะครับ ก็เอาเป็นว่าถ้าใครยื่นถูกต้องทั้งหมดตอนนี้ผมก็ไม่มีอะไรครับจะเป็นแค่การคอนเฟิร์มทุกอย่างแล้วก็ยื่นภาษีเข้าสู่ระบบสรรพากรนะครับ เราก็จะสามารถมี Option ที่จะพิมพ์แบบปกติได้พิมพ์เพื่อเก็บไว้ดูเองนี่แหละครับนะครับ ซึ่งความเป็นจริงไม่ต้องพิมพ์ก็ได้เพราะว่าระบบเขาก็ถือว่าเสร็จแล้ว ทีนี้ผมขอออกจากระบบนะครับ สังเกตว่าเนี่ยก็คือการยื่นภาษีในอินเตอร์เน็ตจบแล้วนะครับ ใครที่ไม่ได้พิมพ์แบบตอนนั้นก็มาสั่งพิมพ์แบบภายหลังได้นะครับ หรือท่านใดยื่นแล้วก็กรณีมีภาษีเขาเรียกว่ามีภาษีที่ต้องรับคืนก็สามารถมาสอบถามตรงนี้ได้นะครับ ใครที่มีภาระภาษีต้องจ่ายแล้วอย่างเรามีเงินไม่พอที่จะจ่ายเต็มเราสามารถแบ่งชำระเป็นงวดๆนะครับ ที่เข้าไปดูก็จะมี account ให้ล็อกอินแบ่งจ่ายได้ 3 งวดนะครับ ก็อย่างนี้อันนี้ก็คือขั้นตอนทั้งหมดนะครับของการยื่นภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตนะครับ ก็ลองดูนะครับลองผิดลองถูกดูกันได้มีปัญหาติดขัดอะไรนะครับก็โทรหากันได้นะครับไม่ใช่โทรหาผมนะครับตอบไม่ไหวแน่นอน โทรหาสรรพากรเลยครับปรึกษาได้โทรหาสรรพากรที่เบอร์ไหนก็ให้ดู Call Center ของสรรพากรนะครับ จะมีนะครับ RD Call Center 1161 ก็สามารถโทรไปได้นะครับ ว่าโทรได้ 8:30 น ถึง 18:00 นะครับ ดูว่าเราติดขัดตรงนั้นตอนนี้สรรพากรก็ยินดีช่วยนะครับ ก็หวังว่าทุกท่านจะยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ตด้วยตัวเองกันได้นะครับ

จบแล้วครับวีดีโอนี้ก็ฝากทิ้งท้ายไว้อีกนิดนึงครับถ้าเกิดว่าชอบ คลิกไลค์ในแฟนเพจของเรา