การยื่นภาษี และ เสียภาษี

29 June 2019

รู้จักภาษีไว้ ให้อะไรมากกว่าที่คิด! ยื่นแบบภาษีได้เอง

เชื่อว่าทุกคนคงจะเคยชินกับคำว่า ภาษี แต่เชื่อเลยว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าจริงๆ แล้วภาษีคืออะไร และ การยื่นภาษีคืออะไร แล้วทำไมต้องยื่นภาษี วันนี้เราจึงขอพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า “ภาษี” ในรูปแบบเข้าใจง่าย และเราจะได้อะไรจากการจ่ายภาษีบ้าง ไปดูกัน!

 

ตรวจ สอบ การ ยื่น ภาษี

 

ภาษีคืออะไร และทำไมต้องยื่นภาษีและจ่าย

ภาษี คือสิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนทุกคนเพื่อนำไปใช้บริหารและพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข บัตรทอง การคมนาคม สาธารณูปโภค การประชาสงเคราะห์ การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท่อประปา อาคารของราชการ เสาไฟฟ้า ไฟทาง เป็นต้น การป้องกันประเทศและรักษาความสงบภายในประเทศ รวมไปถึงเงินเดือนของราชการที่คอยดูแลความเป็นอยู่และรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและบ้านเมือง เช่น สส. ผู้ใหญ่บ้าน ทหาร ตำรวจ เป็นต้น ซึ่งกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ดูแลภาษีในเรื่องรายได้ของรัฐบาล โดยมีกรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิตเป็นผู้ควบคุมดูแลในการจัดเก็บภาษี จึงอย่าลืมยื่นภาษีโดยทางถูกต้อง

 

สิ่งที่เราจะได้รับเมื่อเสีย และ ยื่นภาษีปี 2561

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ภาษีที่เรายื่นภาษีและเสียไป สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หลายประเภท ซึ่งการลดหย่อนภาษี คือ “รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว” ซึ่งโครงสร้างลดหย่อนภาษี 2561 ให้สิทธิ์ ค่าลดหย่อนส่วนตัว คนละ 60,000 บาท เช่น ลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร โดยการนำค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท เป็นต้น โดยมีวิธีคิดคือ

 

(รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี

 

ซึ่งการเสียภาษีปี 2561ที่ต้องยื่นก่อน ได้มีการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีใหม่เพิ่มขึ้นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น การปรับอัตราภาษีในช่วงอัตราร้อยละ 30 และอัตราร้อยละ 35 เพิ่มวงเงินหักค่าใช้จ่าย เพิ่มค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้เป็น 60,000 บาท ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท รวมทั้งค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อคน และไม่จำกัดคน กองมรดก รวมถึงคู่สามีภรรยาที่ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ เป็นต้น

 


กู้เงินหรือให้ยืมเงิน ที่ สตางค์ดี

 

 

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี และ จ่ายภาษี และใครบ้างที่ไม่ต้องจ่าย

ถึงแม้ว่าภาษีจะเป็นสิ่งที่ทุกคนเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะต้องยื่นภาษี ซึ่งถ้าคุณมีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว แต่เงินเดือนไม่เกิน10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี เพราะหากตีไปว่าเราได้เดือนละ 10,000 บาท เราจะมีรายได้ตลอดทั้งปี 120,000 บาท และหักค่าใช้จ่ายตลอดปี 50% ของรายได้แต่ละเดือน เท่ากับว่าเรามีรายจ่าย 60,000 บาท และเมื่อเราเป็นผู้มีเงินได้ กฎหมายจึงมอบค่าลดหย่อนส่วนตัวให้ทุกคนอยู่แล้ว 60,000 บาท ซึ่งสรุปเป็นสูตรการคำนวณเงินได้สุทธิได้ว่า


รายได้ 120,000 - ค่าใช้จ่าย 60,000 - ค่าลดหย่อน 60,000 = เงินได้สุทธิ 0 บาท หรือสามารถตรวจสอบได้ทางเน็ต


ดังนั้น เมื่อมีเงินได้สุทธิ 0 บาทอยู่แล้ว จึงไม่มีค่าภาษีต้องเสียเพิ่ม ด้วยเหตุนี้ โครงสร้างภาษีใหม่จึงกำหนดว่าผู้ที่มีรายได้จากงานประจำตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษีนั่นเอง ตามมาดูกันว่า ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี


  • 1. บุคคลที่จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • 2. บุคคลที่จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
  • 3. บุคคลที่ไม่ได้จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • 4. บุคคลที่ไม่ได้จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย


ยื่นภาษีอย่างไร

สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้เสียภาษีเมื่อตัวเองมีรายได้ สามารถยื่นแบบออนไลน์ผ่านเน็ตที่ https://epit.rd.go.th/publish/index.php ซึ่งจะมีให้เลือกเสียด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่


  • - แบบ ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้อื่นๆ หรือคนที่มีทั้งเงินเดือนและรายได้อื่นๆ
  • - แบบ ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีเพียงเงินเดือน โบนัส ค่าครองชีพ

 


กู้เงินหรือให้ยืมเงิน ที่ สตางค์ดี

 

โทษของการไม่ยื่นภาษีหรืไม่จ่ายภาษี

และเมื่อภาษีเปรียบเสมือนหน้าที่ที่ทุกคนต้องจ่ายในฐานะเป็นหนึ่งในราษฎรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีการตั้งกฎหมายการจ่าย และบทลงโทษสำหรับคนที่เจตนาไม่จ่าย หรือไม่จ่ายภายในกำหนดเวลา หรือชำระไม่ถูกต้อง ซึ่งแบ่งเป็น 5 กรณี ดังนี้

 

 

รู้อย่างนี้แล้ว เขียนแพลนตั้งเวลากันลืมยื่นภาษีไว้ด้วยนะคะ เพราะหากพลาดไปแค่วันเดียว จะน่าเสียดายมาก เชื่อเถอะค่ะว่า การจ่ายตรงเวลา นอกจากเราจะได้ลดหย่อนเร็วแล้ว ประเทศไทยก็ยังจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ด้วยค่ะ