ยื่นภาษีปี 2561 ออนไลน์ โดย ภงด. 90/91

25 April 2019

ยื่นภาษีเงินได้ผ่านเน็ตปีนี้ มีอะไรใหม่บ้าง?

 สวัสดีครับกลับมาพบกับ พี่หนอมอีกแล้วนะครับ คราวนี้เป็นคลิปสอนยื่นภาษีสำหรับ 2561 ที่จะต้องยื่นภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2562 แต่ถ้าเป็นยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตเนี่ยเราจะสามารถยื่นได้ถึง วันที่ 9 เมษายน 2562 เลยครับ เปิดมาแบบนี้หลายคนจะสนใจแล้วยังไงมันมีอะไรเปลี่ยนแปลงใหม่เดี๋ยวเรามาดูกันครับว่าถ้าเราจะเริ่มต้นยื่นภาษีเนี่ยสิ่งที่เราต้องทำมีอะไรบ้างสำหรับปี 2561 นี้แล้วเราต้องดูต้องจัดการยังไงต่อ เรามาเริ่มกันเลยครับ อันดับแรกนะครับเรามาเริ่มที่หน้านี้นะครับ คือยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตนะครับก็คลิกเข้าไปเลยดูที่ E-filing เนี่ยนะครับ พอคลิกเข้าไปเสร็จแล้วปั๊บจะมีคำขึ้นบอกครับว่าเป็น Hot Link ตรงนี้เลยครับ ว่ายื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด. 90/91 ปีภาษี 2561 พอกดเข้าไปปั๊บมันก็จะขึ้นหน้าจออย่างนี้ตามมาครับ

หน้าจอนี้จะมีฝั่งที่เป็นยื่นด้วยตัวเองคือฝั่งซ้ายนะครับ ปกติถ้าคนเคยยื่นแบบแล้วก็มาที่ตัวสีเขียวเพื่อยื่นแบบภงด 90/91 แต่ถ้าเกิดคนที่ไม่เคยยื่นแบบก็ต้องกลับมาที่ลงทะเบียนก่อน ก็จะมีเรื่องของการต้องกรอกข้อมูลบัตรประชาชนต่างๆนะครับ ข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้ลงทะเบียนได้แล้วยื่นภาษีได้ แต่ถ้าคนที่มี Username Password แล้วเนี่ย เราก็เข้ามาที่ยื่นแบบ ภงด. 90/91 พอคลิกเข้ามาแล้วเนี่ยมันก็จะบอกว่าให้กรอกหมายเลขผู้ใช้กับรหัสผ่าน เราก็กรอกข้อมูลในนี้ลงไปเลยครับ ถ้ากรอกถูกต้องมันก็จะเข้ามาสู่ได้นี้ครับหน้านี้จะเด้งขึ้นมาเลยเป็นหน้าคำแนะนำอันแรกก่อนบอกว่า เพื่อความรวดเร็วในการได้รับเงินคืนผ่านระบบนะครับก็ให้ลงทะเบียนพร้อมเพย์อันนี้เป็นเรื่องเก่า หลายคนมีคนส่งคำถามมาถามผมในแฟนเพจ satangdee.com บอกว่า

เฮ้ย...ต้องสมัครพร้อมเพย์ไหม คำตอบคือไม่ต้องสมัครก็ได้แต่ว่าจะได้คืนช้าหน่อยเพราะเขาบอกว่าถ้าลงทะเบียนพร้อมเพย์แล้วเนี่ยจะได้คืนเร็วแล้วพร้อมเพย์ที่ได้ลงทะเบียนนั้นต้องลงด้วยเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น แล้วก็กดผิดไปครับอันนี้ไม่มีอะไรครับ เราก็ตรวจสอบข้อมูลข้อมูลตรงนี้ครับก็จะเป็นชื่อที่อยู่ทั้งหลายเกิดใครขอใครคืนภาษีตรงนี้ก็สำคัญมากๆแล้วครับเพราะว่าจะได้รู้ว่ามันตรงหรือเปล่าถ้าไม่ตรงเดี๋ยวเขาส่งมาผิดก็จะมีปัญหาได้

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน

หลังจากนั้นคลิกทำรายการต่อไปครับก็จะมีข้อมูลเด้งขึ้นมาบอกให้ตรวจสอบข้อมูลดังนี้นะครับ เหมือนเดิมครับถ้าถูกต้องแล้วโอเคไปเลย หน้านี้ก็จะมาเริ่มกรอกหน้าแรกเหมือนกันยื่นแบบ ภงด. 90/91 ของปี 61 เนี่ย กรอกข้อมูลสถานภาพผู้มีเงินได้ซึ่งถ้าเราเป็นคนประเภทไหนก็บอกไปครับ อันนี้มี โสด สมรส หม้ายนะครับ เลือกเอาที่เราเป็นคนแบบไหน ถ้าสมรสเนี่ยมันจะมีฝั่งขวาบอกว่าต้องกรอกข้อมูลด้วยว่าสถานภาพสมรสเป็นแบบไหน แล้วก็การยื่นแบบยื่นรวมกัน แยกยื่น ทำแบบไหน อะไรยังไงนะครับ โอเคทีนี้ทำรายการต่อไปได้เลยครับ

มาที่หน้านี้ครับใช้เวลานานหน่อยนะครับที่อยากจะอธิบายให้ฟังว่าว่ามันจะมีตัวใหม่ๆเกิดขึ้นมานะครับผมอยากให้ดูทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา จริงๆแล้วต้องบอกว่าทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาเนี่ย อันนี้เหมือนเดิมคือมันฝั่งซ้ายคือเงินได้ ฝั่งขวายกเว้นลดหย่อน ปกติเลยฝั่งซ้ายเนี่ยที่เราต้องดูคือเราต้องดูว่าเรามีเงินได้ประเภทไหนตั้งแต่มาตรา 40 (1) ถึง (8) อันนี้เราต้องรู้ข้อมูลเรา 1-8 มีอะไรบ้างพอรู้เสร็จแล้วปั๊บ ก็เลือกให้มันถูกต้องนะครับเพราะว่ามันจะมีผลต่อการกรอกข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ อันนี้ผมลองเลือกให้ดูสักอัน 1 แล้วกัน เป็นมนุษย์เงินเดือนนะครับ อันนี้พาทัวร์แบบง่ายๆเนาะ อยากให้เน้นฝั่งที่มันเป็นเรื่องของค่าลดหย่อนมากกว่า แต่ทีนี้เงินได้ครับตัวสำคัญที่เขาชอบลืมกันนะครับ ตัวที่ต้องกรอกเช่น นี่นะครับขาย RMF ขาย LTF ถ้ามีการขายผมแนะนำนะครับ ถ้ามีการขายกรุณากรอกข้อมูลลงไปด้วย อีกอันนึงที่อย่าลืมคือ ถ้าเกิดมีการออกจากงานเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เนื่องจากออกจากงานเนี่ย กรณีของเราเนี่ยให้ติ๊กด้วย ในกรณีที่เขียนว่าไม่นำไปรวมคำนวณภาษีหมายถึงอะไรหมายถึง ว่าถ้าเกิดเราอย่าทำงานเกิน 5 ปีเราจะได้สิทธิ์แยกยื่นภาษีครับให้ติ๊กตรงช่องนี้นะครับ แต่ว่าช่องนี้จะไม่ติ๊กอธิบายมากมายนะครับให้ดูแป๊บนึงเดี๋ยวจะกลับมากรอกแบบปกติเพราะว่าเรื่องพวกนี้เดี๋ยวจะทำเป็น Episode แยกออกมาต่างหาก มีเรื่องอะไรอีกนะครับ ที่อยากให้ดูนะครับทางฝั่งซ้ายอีกเรื่องนึงก็ คือเรื่องเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิ์เลือกเสีย อันนี้มีทุกปีแต่สำหรับผู้ที่มาดูคลิปนี้เป็นครั้งแรกนะครับ ตรงนี้คือเรื่องของการที่เรามีพวกเงินได้ที่เรียกว่าหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วเป็น Final tax อยู่แล้ว

ก็คือเราเลือกไม่นำมารวมคำนวณภาษีนะครับ เช่น ดอกเบี้ย เช่น เงินปันผล พวกนี้มันสามารถเป็นฐานใช้ฐานที่จะกำหนด RMF/ LTF ได้เราก็คลิกตรงนี้ด้วยนะครับ อันนี้ให้เลือกไว้ 3 อันนี้รับเงินค่าขาย RMF/ LTF เงินจ่ายครั้งเดียวออกจากงาน แล้วก็เรื่องสิทธิ เรื่องภาษีเสียภาษี Final tax ของที่เป็นสิทธิ์ในการซื้อ RMF/ LTF เนี่ยอันนี้เดี๋ยวผมทำเป็นตัวอย่างแยกออกไปแต่ละ Ep. นะครับ ฝากติดตามกันด้วยนะครับ ถ้าใครเพิ่งมาดูคลิปนี้เป็นครั้งแรกก็อย่าลืมกด Subscribe Channel satangdee.com ด้วยนะครับ ปีนี้จะได้ตั้งใจทำคลิปมากๆปีที่แล้วทำไปได้พักนึงแล้วก็เลือกไปนะครับ เพราะว่าด้วยภารกิจด้วยความวุ่นวายหลายๆอย่างปีนี้กลับมาตั้งใจทำอีกแล้วนะครับโอเคเดี๋ยวเล่าให้ฟังต่อ อันนี้จบแล้วก็คือสมมุติผมเอาออกก่อนแล้วกันอันนี้ผมพาทัวร์

 

สิ่งที่จะพาทัวร์เนี่ยมันสำคัญที่ฝั่งขวาครับ คือเรื่องของค่าลดหย่อนปีนี้ที่เพิ่มมา 1 ตัวนะครับที่เพิ่มมาตั้งแต่ปี 60 แหละ แต่ว่ามาดูอีกทีคือเรื่องของเบี้ยประกันสุขภาพ เวลาเราไม่รู้ว่าตัวนี้เป็นอะไรนะครับ เราสามารถกดเพื่อให้มีคำอธิบายขึ้นมาได้นะครับ เขาก็จะบอกว่าเบี้ยประกันสุขภาพเนี่ยสูงสุดที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 รวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 นะครับ แล้วก็จ่ายไป ตั้งแต่อันนี้เป็นข้อมูลเก่าเคยตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ตรงนี้ถ้าเราส่งข้อมูลให้กับบริษัทประกันแล้วข้อมูลตรงนี้จะถูกส่งให้กับสรรพากรเรียบร้อยแล้ว เราก็ติ๊กแล้วก็กรอกข้อมูลลงไปแค่นั้นแหละครับไม่มีปัญหาอะไร

มาอีกตัวนึงนะครับตัวที่เป็นตัวใหม่ในก็คือเรื่องของ เงินบริจาคโรงพยาบาล 2 เท่า จะเห็นว่าถ้ามองทางฝั่งนี้มันไม่มีนะครับเงินบริจาคโรงพยาบาล 2 เท่า หรือที่ผมเขียนในบทความ เรื่องแบบเงินช่วยสถาบันการศึกษาที่เป็นสถาบันพิเศษเรื่องของ EEC มันก็ไม่มีอยู่ในนี้ แต่จริงๆแล้วมันอยู่ในกลุ่มนี้ครับ คือเงินบริจาคสนับสนุนกันศึกษาและการกีฬากดเข้าไปเนี่ยมันคือหักได้ 2 เท่านะครับ ที่มันต้องตอบในช่วงนี้เพราะมันเป็นช่อง 2 เท่าอยู่แล้วดังนั้นต้องกรอกพวกนี้ให้เรียบร้อยก็อย่าลืมกดเข้าไปเหลือ 1 ตัวที่นี่ตัวอะไรอีกนะครับ ที่มันเพิ่มเข้ามาในปีนี้มี ค่าท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรอง 55 จังหวัด ตามที่ว่าไปนะครับ ก็เนี่ยครับก็ขึ้นจะบอกว่ามันเป็นค่าท่องเที่ยวเมืองรองนะคะมี 3 ที่นะครับที่ได้คือ โรงแรม โฮมสเตย์ หรือบริษัททัวร์ ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายถูกต้อง สายไฟสูงสุดไม่เกิน 15,000 เงื่อนไขจะคล้ายๆกับเรื่องเดิมนะครับซึ่งกรมสรรพากรก็น่ารักมากนะครับ บอกว่าถ้าไม่ชัวร์เนี่ยตรวจสอบได้จากตรงนี้นะครับ บริการข้อมูลรายชื่อต่างๆเนี่ยนะครับก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ครับ มีตัวอะไรอีกครับมีนี่ครับค่าลงทุน ลงหุ้นหรือลงทุนนะครับ ในกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือธุรกิจ Startup นะครับอันนี้ก็จะเป็นกิจการอันนึงที่สามารถเป็นค่าลดหย่อนได้ลงทุนสูงสุดที่เกิน 100,000 บาท จ่ายเงินลงทุน มกราคม 61 ถึง 11 ธันวาคม 62 ก็คือปี 61 ใครใช้ตัวนี้ก็อย่าลืมเอามาก่อนนะครับ ค่าฝากครรภ์ค่าคลอดบุตรมาแล้วนะครับเรียบร้อยนะครับ คลอดเงินสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท เงินบริจาคพรรคการเมืองตัวนี้เป็นตัวใหม่ที่พึ่งเข้ามา จริงๆแล้วผมไม่เห็นในกฎหมายด้วยนะครับจริงๆแล้วหลักการยังไม่ประกาศเลยเห็นไหมครับ แต่ว่าเขาใช้ได้สูงสุดเนี่ยจ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาทก็คือในปี 61 ใครมีไปช่วยนักการเมือง ไม่ใช่สิขออภัยใครไปสนับสนุนพรรคการเมืองไหนพรรคที่เรารักเราชอบเนี่ย เขาจะออกใบเสร็จหรือหลักฐานการรับเงินว่าเขาได้รับเงิน เอ้ย.ใบได้รับเงินตรงนี้เอามาใช้ได้นะครับในการทำเรื่องของการลดหย่อนภาษีในกรณีที่บริจาคพรรคการเมืองสูงสุด 10,000 บาท

มาดูตัวต่อมานะครับตัวฝากคลอดบุตรนะครับ แต่ว่าดูอีกนิดนึงก็คือสูงสุด 600 บาทนะครับก็จะมีเงื่อนไขประมาณนี้ซึ่งผมแขนอัพเดทในเพจ satangdee  แล้วล่ะ เดี๋ยวในวีดีโอนี้ผมจะทำลิงค์ไว้ให้ด้านล่างนะครับ ว่าบทความให้ไปอ่านเพิ่มเติมตรงไหนบ้างนะครับ มีอะไรอีกครับมีตัวสุดท้ายครับลดหย่อน Shop ช่วยชาติหรือ ค่าสินค้าและหรือค่าบริการนะครับตรงนี้คืออะไรนะครับ ก็ไอ้ 3 อย่าง ยางรถยนต์ หนังสือ OTOP ผมขออนุญาตติดตัวใหม่ๆนะครับ แล้วมาดูกันว่ามีอะไรบ้างลืมไปอีกตัวนึงที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือเรื่องของบุตรครับค่าลดหย่อนบุตรนั่นเอง พูดก็มีเหมือนกันนะคะบอกว่าหลักเกณฑ์การหักลดหย่อนบุตรนะครับมันจะมีเรื่องของบุตรคนที่ 2 เดี๋ยวเรามาดูกันว่ามันขึ้นเป็นยังไง ผมจะติ๊กเรื่องของบุตรนะครับอันแรกนะครับ ติ๊กเรื่องเบี้ยประกันสุขภาพ ติ๊กเรื่องขอเงินบริจาคแล้วก็เรื่องของท่องเที่ยวเมืองรอง Startup ฝากครรภ์ คลอดบุตร เงินบริจาคพรรคการเมือง แล้วก็ Shop ช่วยชาติ มาดูกันว่าตัวใหม่ๆพวกนี้มันมีการให้กรอกให้ทำอะไรพวกนี้ยังไงบ้างนะครับเดี๋ยวมาพรีวิวคร่าวๆกันดูก่อน

ทีนี้เวลายื่นภาษีครับพอเริ่มเสร็จแล้วเนี่ยมันจะมีมากรอกหน้าที่เป็น กลุ่มตัวที่ 3 คือบันทึกเงินได้ก่อนบันทึกเงินได้เนี่ย มันก็คือเรื่องเงินได้ประเภทไหน มันก็จะขึ้นมาเป็นแถบตรงนี้นะครับ สีฟ้าๆให้เราคลิกไปเรื่อยๆ อันนี้ผมเลือกประเภทที่ 1 อันเดียวประเภทที่ 1 อันเดียวมันก็กรอกไปเลยครับสมมุติผมมีเงินเดือนทั้งปีเดือนละ 100,000 บาท 1,200,000 แล้วกัน หักภาษีไม่ถูกหักเลยเพื่อความเข้าใจง่ายนะครับ เขาจะให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ตรงนี้ผมให้เคล็ดลับนิดนึงนะครับสำหรับคนที่ไม่เคยตอบไม่เคยอะไร ไอ้ตรงนี้ถ้าเกิดไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร แต่เราอยากยื่นภาษีหรือบางทีเราไม่มีข้อมูลของผู้จ่ายเงินได้ เราอยากยื่นคีย์หลักที่กรอกได้ครับ คือ 0 12 ตัวครับ แล้วกดเลข 1 ตามมาอันนี้มันจะใช้ได้กรอกเงินได้ถูกแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ ค่าใช้จ่ายจะเห็นว่าหักค่าใช้จ่ายได้เนี่ยแต่ละประเภทเป็นแบบไหนก็มาเลือกให้ถูกต้องกันนะครับ ที่นี้สิ่งที่คนมักพลาดครับให้ดูตอนเช้านี้ครับกรณีที่เป็นผู้สูงอายุหรือคนพิการที่อายุไม่เกิน 65 เนี่ย จริงๆแล้วเนี่ยเราสามารถกรอกใช้สิทธิ์ตรงนี้ได้สูงสุดนะครับในการยกเว้นเงินได้คือ 190,000 บาท กรอกตรงนี้ได้เลย 190,000 บาท แต่อันนี้ผมไม่ได้พิการและอายุไม่ถึง 65 ช่องนี้มันเลยกรอกไม่ได้ แต่ถ้าเกิดคุณอายุ 65 หรือคุณเป็นคนพิการเนี่ย ตรงนี้มันจะเป็นช่องสีขาวแล้วกรอกข้อมูลไปได้นะครับ บางคนลืมกรอบพ่อลืมกรอกแล้วมันไม่เห็นแล้วไม่ได้ใช้ก็เสียดายไปนะครับ อันนี้ฝากเตือน พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย ที่ต้องยื่นภาษีอยู่ด้วยแล้วกันนะครับ


 

เสร็จแล้วเรามาบันทึกลดหย่อนตรงนี้นะครับ จะเห็นว่าบุตรมันจะมีช่องของบุตรคนที่ 2 มา ที่บอกว่าได้คนละ 60,000 ตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดในหรือหลังปี 2561 ก็กรอกเข้าไปครับที่มีบุตรกี่คนบุตรทั้งหมดสมมุติบุตรปกติเรามี 1 คน แล้วเรามีบุตรคนที่ 2 อีก 1 คนก็จะมีข้อมูลให้กรอกนะครับ ยืนยัน OK ด้วแล้วมันก็จะเด้งขึ้นมา กรอกยังไงก็บอกเลขตรงนี้คือเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งต้องบอกว่าการลดหย่อนบุตรสามารถลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนปกติเนี่ยทางกรมสรรพากรให้มา 8 ช่อง แล้วก็บุตรคนที่ 2 อีก 5 ช่องผมว่ามันเกินพอนะ อันนี้ถ้าใครมีบุตรนะครับก็กรอกแลกบัตรประจำตัวประชาชนของบุตรไปด้วย ที่เหลือเป็นอะไรบ้าง มาดูค่าลดหย่อนตัวอื่นๆครับ เบี้ยประกันสุขภาพนะครับสูงสุดที่บอก 15,000 สมมุติผมกรอกไป 150,000 บาท ปั๊บมันก็จะเด้งออกไปเลย แล้วมันก็สูงสุดที่เรามีนะครับ ท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรองเหมือนกันสูงสุด 15,000 บาท ผมกรอกไป 20,000 มันก็จะเด้งไปไม่ได้ อันนี้ผมกรอกให้ดูก่อนแล้วกันครับ ลงหุ้นสูงสุด 100,000 อันนี้ไม่มีอะไรครับ แล้วก็ฝากครรภ์กับคลอดบุตรเนี่ยอันนี้สูงสุด 60,000 บาท ก็กรอกได้เลยถ้าเกินไป 60,001 บาท

อ้าวๆๆๆ ได้แฮะ สรรพากรไม่ล็อคไงกรอก 70,000 เออ อันนี้เพิ่งเจอเหมือนกันครับไม่ล็อคครับ แปลกมากเลยทำไมไม่รู้ จริงๆมันต้องไม่เกิน 60,000 ไง แต่ว่าเขาใส่ไม่เกิน 600,000 ไปรู้เปล่ามันเลยกลายเป็น 600,001 และผมเจอและสุดยอดเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่นะครับเดี๋ยวเขาคงแก้นะครับปล่อยเขาไปนี่แหละ แต่ว่าในหลักการกรอกได้ไม่เกิน 60,000 แล้วกัน เงินบริจาคพรรคการเมืองที่นี่สูงสุด 10,000 บาทเนาะ ลองเช็คดูแล้วกัน อันนี้ถูกนะครับหมื่นเดียว ลดหย่อน Shop ช่วยชาติรวมกันสูงสุด ไม่เกิน 15,000 สมมุติว่าเปลี่ยนยางไปหมื่นนึง ยางก็น้อยเหลือเกินเนาะ ซื้อหนังสือไป 5,000 บาท OTOP บาทหนึ่งได้ไหม ไม่ได้ OTOP ก็ไม่มี แบบนี้นะครับก็จะเป็นสรุปค่าลดหย่อนทั้งหมดของเรานะครับ อันนี้ขออนุญาตกลับนะครับ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนลูกน่ะสิไม่ได้พกตัวมาขออนุญาตกลับไปแก้นิดนึง เรียบร้อยก็จะผ่านไปได้อย่างง่ายดายนะครับที่นี้ทำรายการต่อครับพอทำรายการต่อก็จะเห็นว่าเนี้ยมันขึ้นมาทั้งหมดแล้วข้อมูล เมื่อกี้บอกว่าเราเลือกบริษัทสนับสนุนการศึกษาการกีฬาเนาะ มันจะมาขึ้นตรงช่องนี้นะครับ อย่าลืมนะครับใครที่ 2 เท่า ไอ้ตัวนี้ต้องบอกแบบนี้ว่าให้กรอกเลขเท่าที่เราจ่ายไปจริงก่อนสมมุติเราบริจาคไป 10,000 นึงเราก็กรอก 10,000 มันก็คูณ 2 ให้ในช่องสีชมพูตรงนี้นะครับ ไม่ต้องไปคุยให้เขานะเราทำตามข้อมูลเป็นจริงในระบบสรรพากรเขาจะตรวจสอบเองสุดท้ายอันนี้ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมนะครับพอชำระภาษีเพิ่มเติมเนี่ย ก็เลือกได้ว่าจะประสงค์หรือไม่ประสงค์อุดหนุนนะครับ ทีนี้ถ้าประสงค์อุดหนุนนะครับก็มาดูนะครับ ผมให้ดูถ้าประสงค์อุดหนุนปั๊บเขาจะบอกว่าให้ได้สูงสุดไม่เกิน 500 บาทแล้วแต่กรณีนะครับต้องบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยด้วยถ้าอยากให้ก็ให้ได้สูงสุด 500 เดิมเนี่ยเขาจะให้ 100 นะครับ แล้วก็เลือกพรรคตรงนี้ ก็มีเลขพรรคขึ้นมาเรียบร้อยเราก็ไปดูว่าชอบพรรคแบบไหน อะไรแบบไหนนะครับ อ่ะสมมุติว่าไม่บริจาค สำหรับคนที่จะต้องจ่ายภาษีเกิน 3,000 บาทสามารถเลือกผ่อน 3 งวดได้นะครับ เรียกว่า 0% 3 เดือนได้ครับ แล้วก็ไปผ่อนบัตรเครดิตอีกต่อนึงก็เป็นเรื่องดี สำหรับใครที่บริหารจัดการการเงินก็ใช้ตรงนี้เป็นตัวช่วยได้อีกแบบนึงนะครับ แต่ว่าส่วนตัวแล้วถ้ามันไม่แพงมากเป็นผมผมไปจ่ายทีเดียวให้จบจะได้ลืมๆไป เพราะว่าวันนี้เพิ่งเขียน Content ลงเพจ มีแฟนเพจคนนึงเขามาคอมเม้นบอกว่าถ้าเกิดเลือกผ่อนแล้วยื่นทางเน็ตนะ แล้วลืมเนี่ยต้องไปจ่ายที่สาขาของกรมสรรพากรนะครับ คือที่สาขาที่ตั้งอยู่ในละแวกบ้าน เราไปจ่ายปั๊บก็ต้องไปจ่ายมีทั้งค่าเงินเพิ่มระวังตรงนี้ไว้ ถ้าคุณเรื่องผ่อนคุณผ่อนให้ตรงเวลานะครับ อย่าลืมบางคนจ่ายเดือนนี้เสร็จแล้วเดือนหน้าลืมผ่อน ยังไงอย่าลืมผ่อนด้วยนะครับ โอเคถ้าที่นี้เรียบร้อยแล้วสมมุติเราไม่ผ่อนเราก็ทำรายการต่อไปปั๊บ มันก็จะขึ้นข้อมูลทั้งหมดมานะครับ แล้วก็ยืนยันการยื่นแบบ ซึ่งอันนี้ผมทำตัวอย่างให้ดูเฉยๆผมก็จะไม่ยืนยันหรอกแต่อยากให้รู้ไว้ว่าทั้งหมดนี้นะครับ คือวิธีการยื่นภาษีสำหรับปี 2561 อย่างนี้ก็เป็นอัพเดทคร่าวๆในการพาทัวร์พาชมระบบว่ามันมีอะไรแปลกใหม่บ้าง และมีข้อควรระวังอะไรบ้างนะครับ และเดี๋ยวผมจะทยอยทำคลิปที่สอนเกี่ยวกับวิธีการยื่นของคนแต่ละประเภท คนมีรายได้หลายทาง คนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน คนที่ขายของออนไลน์ แบบไหนยังไง เดี๋ยวผมทำให้ดูนะครับ ไม่ต้องกลัวนะครับ เราสามารถจัดการเรื่องภาษีได้เพียงแค่มีความรู้ครับ แล้วก็ความรู้เราสามารถหาฟรีๆได้ถ้าเราตั้งใจหาครับ วันนี้ขอบคุณสำหรับทุกคนที่ติดตามนะครับ ถ้าใครชอบก็อย่าลืมกดไลค์หรือแชร์คลิปนี้หรือกด Subscribe นะครับ ถ้าดูใน Facebook Fanpage ก็อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจนี้ด้วยนะครับ แล้วเจอกันใหม่ในคลิปต่อไปครับวันนี้พี่น้อมลาไปก่อนสวัสดีครับ